รูปภาพแสดงภาพแวดล้อมการซึมรั่วท่อใต้พื้น

เราจะรู้จุดรั่วของท่อที่อยู่ใต้ผิวดินได้อย่างไร?

รายละเอียด

           คงจะลำบากไม่ใช่น้อยสำหรับหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับระบบท่อส่งน้ำ ถ้าเกิดอยู่ดีๆมีน้ำท่วมขังอยู่บนผิวถนนโดยไม่ทราบสาเหตุ แน่นอนว่าสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นนั้นอาจจะเกิดจากการรั่วไหลของท่อส่งน้ำหรือท่อระบายน้ำที่อยู่ใต้ผิวดิน และจะต้องลำบากในการซ่อมแซมอย่างแน่นอนหากเราไม่รู้จุดที่เกิดการรั่วไหล ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะสามารถแก้ไขได้ด้วยการนำเครื่องมือสำรวจจุดรั่วด้วยคลื่นเสียง (Water leak detector, WLD) และเครื่องมือสำรวจหยั่งลึกด้วยเรดาห์ (Ground penetrating radar, GPR) เข้ามาช่วยในการตรวจสอบ ทั้งสองวิธีจะมีหลักการสำรวจ วิธีการสำรวจ และผลการสำรวจอย่างไร เราไปดูกันเลย

           ในการที่จะหาจุดรั่วของท่อที่อยู่ใต้ผิวดินเป็นสิ่งที่ไม่ง่ายเลยเพราะอยู่นอกเหนือสายตาที่มนุษย์เราจะสามารถมองเหตุได้ ดังนั้นสิ่งแรกที่เราควรประเมินถึงปัญหาการรั่วของท่อคือ ความผิดปกติของระบบ เช่น มีบริเวณเปียกชื้นผิดปกติ หรือปรากฏแอ่งน้ำขนาดเล็ก ใหญ่ แรงดันน้ำลดลงผิดปกติ ค่าน้ำประปาเพิ่มขึ้นอย่างมาก และลายน้ำปรากฏบนผนังหรือพื้น เป็นต้น สิ่งผิดปกติต่างๆเหล่านี้บ่งบอกถึงการรั่วซึมของท่อน้ำใต้ผิวดิน ซึ่งควรได้รับการประเมินสภาพและตรวจสอบ


การประเมินสภาพรั่วไหลของท่อ


           ในสภาพท่อที่มีรอยแตกหรือจุดรั่วจะเกิดการไหลผ่านของน้ำเสียดสีกับผิวท่อและชั้นดิน ก่อให้เกิดการสั่นหรือเสียงเฉพาะ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ด้วยเครื่อง WLD โดยในการตรวจสอบนั้นจะวางเซนเซอร์ตรวจวัดไปตามแนวท่อ เมื่อเซนเซอร์เข้าใกล้จุดรั่วจะแสดงค่า Acoustics หรือ ค่าเสียงสะท้อนที่สูงกว่าค่าบริเวณปกติ ดังรูปที่แสดงด้านล่าง

 

 

Pipe.png

รูปภาพแสดงตัวอย่างการวัดค่าเสียงสะท้อนจากการรั่วไหลด้วยเครื่อง WLD

การหาตำแหน่งท่อ


           โดยทั่วไปแล้วในกรณีที่มีแผนผังของระบบท่อใต้ผิวดินที่ชัดเจนอาจจะใช้เพียงเครื่อง WLD ในการตรวจสอบ แต่ถ้าหากไม่มีแผนผังระบบท่อที่ชัดจัดจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้เครื่อง GPR เข้ามาช่วยในการระบุตำแหน่ง เพื่อที่จะสามารถกำหนดตำแหน่งของการรั่วไหลของท่อรวมถึงโครงสร้างของท่อที่อยู่ใต้ผิวดินได้อย่างแม่นยำ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะทำให้สามารถออกแบบการซ่อมบำรุงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสียหายจากการรื้อพื้นที่ไม่จำเป็น ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรอบ และลดค่าจ่ายที่ไม่จำเป็นอีกด้วย

            หลักการสำรวจ GPR จะใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่สูงส่งผ่านลงสู่ใต้ผิวดินจากตัวส่งสัญญาณ (Transmitter, TX) เมื่อคลื่นสัมผัสกับวัตถุที่มีค่า Dielectric Constant แตกต่างกัน คลื่นจะสะท้อนกลับสู่ผิวดิน และถูกตรวจรับด้วยตัวรับสัญญาณ (Receiver, RX) สัญญาณจะถูกประมวลผลความเร็วคลื่นและก็แสดงผลออกมาผ่านตัวควบคุม โดยจะแสดงภาพออกมาในลักษณะรูปไฮเปอร์โบล่า ที่ทำให้สามารถระบุตำแหน่งของท่อที่อยู่ใต้ผิวดินได้ดังภาพด้านล่าง


GPR

รูปภาพแสดงการใช้เครื่อง GPR ในการตรวจสอบท่อใต้ผิวดิน


การสำรวจ

รูปภาพแสดงผลการสำรวจเครื่อง GPR


คลื่น

รูปภาพแสดงการวิเคราะห์ผลสำรวจ GPR


เข้าชมเครื่องมือที่ใช้ในการสำรวจ