เครื่องมือวัดความเรียบของผิวทางชนิดรถเข็น (Walking Profiler)

เครื่องมือวัดความเรียบของผิวทางชนิดรถเข็น (Walking Profiler)

รายละเอียด

เครื่องมือวัดความเรียบของผิวทางชนิดรถเข็น (Walking Profiler) เป็นเครื่องมือสำหรับตรวจสอบความเรียบของผิวทาง โดยสามารถประมวลผลเป็นหน่วยการวัดดัชนีความเรียบสากล (International Roughness Index; IRI) ซึ่งเครื่องมือดังกล่าวจะต้องทดสอบได้ตามมาตรฐาน ASTM E950 และ World Bank Standard class 1 มีช่วงในการบันทึกข้อมูลได้ทุกๆระยะ 25.4 มิลลิเมตร (1.0 นิ้ว) หรือดีกว่า

คุณสมบัติทางเทคนิคทั่วไป

  • ต้องมีช่วงความยาวของฐานล้อไม่เกิน 254 มิลลิเมตร (10 นิ้ว)
  • ค่าความถูกต้องในการเก็บข้อมูลโปรไฟล์ (Profile Accuracy) ไม่เกิน ± 0.381 มิลลิเมตร (± 0.015 นิ้ว) โดยมีค่าความละเอียดของค่าระดับความสูง (Height resolution) ไม่เกิน ± 0.0025 มิลลิเมตร (± 0.0001 นิ้ว) หรือ มีค่า IRI Accuracy < 0.03 m/km (<+- 2 inches/mile) on high quality pavements
  • ค่าความละเอียดในการวัดระยะทาง (Longitudinal (distance) resolution) ไม่เกิน ± 0.025% หรือ Distance Accuracy มี Typical Error <0.045%
  • เครื่องมือทดสอบจะต้องติดตั้งอุปกรณ์วัดระยะทางและอุปกรณ์วัดการลาดเอียง
  • สามารถแสดงผลข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัดในรูปแบบชนิด IRI (International Roughness Index)

เครื่องมือวัดความเรียบของผิวทางชนิดรถเข็น (Walking  Profiler)

บริษัททำการทดสอบเครื่องมือวัดความเรียบของผิวทางชนิดรถเข็นก่อนส่งมอบเครื่องให้แก่ กรมทางหลวง

ค่าดัชนีความเรียบขรุขระสากล (International Roughness Index, IRI) คืออะไร?

ค่าดัชนีความเรียบขรุขระสากล (International Roughness Index, IRI) คือ ค่าดัชนีที่ใช้ระบุความขรุขระของผิวทาง สามารถบอกถึงสภาพการให้บริการของผิวทางโดยรวม ได้จากผลการวัดค่าระดับของผิวทางตามทิศทางการวิ่ง นำค่าผลรวมที่ได้มาหารด้วยระยะทางตามแนวราบมาคำนวณตามสมการทางคณิตศาสตร์ ค่า IRI เป็นที่นิยมในการบริหารโครงข่ายสายทางส่วนใหญ่ในประเทศต่างๆ และเป็นที่ยอมรับของธนาคารโลก (World Bank) โดยมาตรฐานของค่า IRI ของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการกำหนดนโยบาย การจัดสรรงบประมาณสำหรับการบริหารโครงข่ายทางของแต่ละประเทศและตามประเภทผิวทางต่างๆ - ที่มา กรมทางหลวง

walking

 SSI Waking Profiler

เครื่องมือวัดความเรียบของผิวทางชนิดรถเข็นเหมาะกับใคร?

  • หน่วยงานราชการเกี่ยวกับถนน,ทางเท้า
  • ผู้รับเหมาก่อสร้างถนน,ทางเท้า
  • สนามบิน
  • มหาลัยและอื่นๆ

เกณฑ์แนะนำการประเมินความราบเรียบของถนน

ในประเทศไทย IRI (m/Km) สภาพความเรียบได้แก่

  • 1.0–2.5 ดีมาก
  • 2.5–3.5 ดี
  • 3.5–4.5 พอใช้
  • 4.5 ขึ้นไป ต้องปรับปรุง

Cr. ข้อมูลจากการสำรวจและประเมินความเสียหายของถนนโดยวัดค่าดัชนีความขรุขระของผิวทางสากล (International Roughness Index, IRI), กรมทางหลวง สำนักวิเคราะห์และตรวจสอบ,กรมทางหลวง

โปรแกรมวิเคราะห์เครื่องมือวัดความเรียบของผิวทางชนิดรถเข็น (Walking  Profiler)

โปรแกรมวิเคราะห์เครื่องมือวัดความเรียบของผิวทางชนิดรถเข็น (Walking Profiler)

 

ความขรุขระ (Roughness) ของผิวทาง คือ ความแปรปรวนของระนาบผิวทางที่ทําให้เกิดความไม่ สบายในการขับขี่ อีกทั้งยังมีผลต่อการระบายน้ําบนผิวถนน และการกระจายน้ําหนักบรรทุกของยานยนต์ลง บนผิวทาง ดังนั้นความขรุขระของผิวทางจึงเป็นดัชนีชี้วัดซึ่งสามารถบอกถึงสภาพการให้บริการของผิวทาง โดยรวมได้ และเป็นที่นิยมใช้งานอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน จากการศึกษาของ FHWA (1991) พบว่าความ ขรุขระของผิวทางมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเสื่อมสภาพของโครงสร้างทาง โดยมีเกณฑ์ที่แนะนํา สําหรับการประเมินความเรียบของถนน

การทดสอบเก็บข้อมูลค่า IRI สามารถประเมินได้จากอุปกรณ์ดังนี้
1. Laser Profilometer โดยข้อมูลที่ได้รับจากอุปกรณ์เลเซอร์ มีลักษณะข้อมูลเป็นค่าต่อเนื่องตลอดระยะทางการสำรวจเมื่อรถสำรวจวิ่งสำรวจข้อมูล ด้วยความเร็วประมาณ 30 ถึง 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยตรวจวัดและคำนวณดัชนีความขรุขระสากลทุกๆ 100 เมตร ทําให้การตรวจสอบสภาพทางเป็นไปอย่างรวดเร็ว ข้อมูลที่ได้จาก การสํารวจเป็นมาตรฐานสากล มีความละเอียดแม่นยํา

walking


2. Bump Integrator (BI) โดยอุปกรณ์ Bump Integrator จะติดตั้งทำการติดตั้งภายในยานพาหนะสำรวจสภาพทาง เนื่องจากยานพาหนะสำรวจสภาพความเรียบผิวทางส่วนใหญ่ที่นำมาติดตั้ง Bump Integrator นั้นเป็นลักษณะเพลาหลังเดี่ยว ควบคุมการสั่นสะเทือนสองล้อ (Solid Rear Axle) การติดตั้งอุปกรณ์ Bump Integrator จึงทำการติดตั้ง ณ ตำแหน่งกึ่งกลางเพลาท้ายของยานพาหนะ


3. เครื่องวัด SSI Waking Profiler เป็นเครื่องมือวัด Profile ที่สามารถหาค่า IRI (International Roughness Index), HRI (Half Car International Roughness Index ), RQI (Ride Quality Index), RN (Ride Number) และ PRI (Profile Ride Index) โดยเป็นเครื่องมือที่มีความละเอียดสูงได้มาตรฐาน ASTM E950 จัดอยู่ใน Class I ตามมาตรฐาน World Bank มีความสามารถในการหา Relative Profile ระหว่าง ความสูง ความชัน และระยะทาง ความเร็วในการทดสอบอยู่ระหว่าง 0.8 – 4.8 กม.ต่อ ชม. ขึ้นกับ Resolution ที่ต้องการโดยสามารถเก็บข้อมูลได้ทุกๆ 25 มิลลิเมตร สำหรับการตรวจวัดค่า IRI มีความละเอียด +/- 0.5 เมตร/กิโลเมตร


4. เครื่อง Dipstick ใช้ในการตรวจวัดค่า IRI โดยมีความแม่นยําสูงมาก จัดอยู่ใน ระดับชั้นที่ 1 (Class I) ตามวิธีการแบ่งชั้นเครื่องมือมาตรฐาน ASTM (ASTM E 950-94) เครื่อง Dipstick ใช้ หลักการตรวจวัดค่าความแตกต่างของขาทั้งสองข้างที่อยู่ห่างกัน 0.30 เมตร แม้เครื่องมือชนิดนี้จะให้ความ ละเอียดในการตรวจวัดสูงมากจัดอยู่ในระดับชั้นเดียวกันกับ Laser Profiler ตามมาตรฐาน ASTM (ASTM E 950-94) แต่ข้อด้อยของเครื่องมือชนิดนี้ คือ ต้องใช้วิธีการเดินตรวจวัดด้วยกําลังคน จึงทําให้ปฏิบัติงานได้ ช้า ไม่เหมาะสมกับงานปริมาณมากครอบคลุมพื้นที่ทั่วทั้งประเทศ

walking

walking

walking

วิดีโอขั้นตอนการใช้งาน

แนะนำอุปกรณ์ เครื่องมือวัดความเรียบของผิวทางชนิดรถเข็น (Walking Profiler)

ขั้นตอนการประกอบอุปกรณ์ เครื่องมือวัดความเรียบของผิวทางชนิดรถเข็น (Walking Profiler)

แนะนำตัวเครื่อง การเปิด ปิด ชาร์ทไฟ เครื่องมือวัดความเรียบของผิวทางชนิดรถเข็น (Walking Profiler)

แนะนำโปรแกรมตรวจสอบ เครื่องมือวัดความเรียบของผิวทางชนิดรถเข็น (Walking Profiler)

การใช้งานเครื่อง เครื่องมือวัดความเรียบของผิวทางชนิดรถเข็น (Walking Profiler)

การเก็บเครื่องเครื่องมือวัดความเรียบของผิวทางชนิดรถเข็น (Walking Profiler)

การสอบเทียบเครื่องมือ เครื่องมือวัดความเรียบของผิวทางชนิดรถเข็น (Walking Profiler)

การวิเคราะห์ระดับความชันของพื้นถนน เครื่องมือวัดความเรียบของผิวทางชนิดรถเข็น (Walking Profiler)