NUCLEAR DENSITY GAUGES เครื่องมือทดสอบหาความชื้นและความแน่นด้วยวิธีนิวเคลียร์

NUCLEAR DENSITY GAUGES เครื่องมือทดสอบหาความชื้นและความแน่นด้วยวิธีนิวเคลียร์

รายละเอียด

NUCLEAR DENSITY GAUGES เครื่องมือทดสอบหาความชื้นและความแน่นด้วยวิธีนิวเคลียร์

Finished-gauges-waiting-on-the-rack-scaled

เครื่องทดสอบความหนาแน่นในสนาม แบบ Nuclear Moisture Density Gaugeเป็นเครื่องมือวัดความหนาแน่นของถนน สำหรับชั้นดินคันทาง ชั้นรองพื้นทาง ชั้นพื้นทางและชั้นผิวทาง โดยเป็นการทดสอบแบบไม่ทำลาย ซึ่งใช้วิธีตรวจวัดโดยวิธีนิวเคลียร์ตามมาตรฐาน ASTM D6938, D2950 และ C1040 และ มาตรฐานเดียวกับ มทช.(ท) 501.14 – 2558 วิธีการทดสอบหาค่าความหนาแน่นและค่าความชื้นของดินและวัสดุมวลรวมในสนามโดยใช้ เครื่องวัดเชิงนิวเคลียร์

 

คุณสมบัติทางเทคนิค

  • สามารถเลือกแบบในการทดสอบได้ดังนี้ แบบ Backscatter, แบบ Direct Transmission และแบบ Moisture
  • มีจอแสดงผลสามารถแสดงค่าต่าง ๆ ได้ดังนี้ ค่าความหนาแน่นแห้ง (d), ความแน่นเปียก (w), ค่าความชื้น (w), ร้อยละความชื้น (%w), ร้อยละความแน่นของการบดอัด (% compaction), ร้อยละช่องว่างในวัสดุ (% voids)
  • มีค่าความเที่ยงตรง (Precision) ในการวัดค่าที่ 1 นาที ดังนี้
    1.แบบ Direct Transmission ที่ความลึก 150 mm. มีความเที่ยง + 3.4 kg/m3 หรือดีกว่า
    2.แบบ Backscatter ที่ความลึก 100 mm. มีค่าความเที่ยง + 8 kg/m3 หรือดีกว่า
    3.แบบ Moisture ค่าความหนาแน่นที่ 240 kg/m3 มีค่าความเที่ยง + 5.1 kg/m3 หรือดีกว่า
  • การวัดความหนาแน่นจะใช้ต้นกำเนิดรังสีแกมมาชนิด 8mCi + 10% Cs-137 การวัดความชื้นใช้ ต้นกำเนิดรังสีนิวตรอนชนิด 40mCi + 10% Am-241 : Be โดยสารกัมมันตรังสีจะบรรจุอยู่ในวัสดุ Stainless Steel ซึ่งมีการแผ่กระจายของรังสีในระยะ 5 cm สูงสุดต้องไม่เกิน 19 mrem/hour

เครื่องทดสอบความหนาแน่นในสนาม แบบ Nuclear Moisture Density Gauge

เครื่องทดสอบความหนาแน่นในสนาม แบบ Nuclear Moisture Density Gauge

 

หลักการใช้งาน เครื่องมือทดสอบหาความชื้นและความแน่นด้วยวิธีนิวเคลียร์

หลักการใช้งาน เครื่องมือทดสอบหาความชื้นและความแน่นด้วยวิธีนิวเคลียร์

การขอครอบครอง เครื่องมือทดสอบหาความชื้นและความแน่นด้วยวิธีนิวเคลียร์

  • ต้องขอใบอนุญาตครอบครอง และผ่านการสอบและอบรมหลักสูตรการป้องกันอันตรายจากรังสีระดับ 1
  • อุปกรณ์ตรวจวัดปริมาณรังสี (Survey Meter) ที่ได้รับการตรวจสอบและรับรอง จากหน่วยงานที่รับผิดชอบ
  • ต้องมีเครื่องบันทึกรังสีประจำตัวบุคคลชนิด OSL หรือชนิดอื่น ที่ได้รับการตรวจสอบ และรับรองจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ

 

การเตรียมพื้นที่ทดสอบหาความชื้นและความแน่นด้วยวิธีนิวเคลียร์

 

วัสดุโครงสร้างทาง (SOIL AND BASE COURSE)

              วางฐานสำหรับเจาะนำ(Scraper Plate) บนพื้นที่จะทดสอบที่ราบเรียบถูฐานสำหรับเจาะนำกับพื้นไปมา ยกฐานสำหรับเจาะนำขึ้นมาตรวจสอบดูว่าพื้นบริเวณนั้นราบเรียบไม่มีหลุมบ่อ ถ้าไม่ราบเรียบสามารถใช้ทรายสาดทับหน้าบางๆ(หนาไม่เกิน 3 ม.ม.)แล้ววางแท่นเจาะนำลงบนทราย สอดแท่งเจาะนำ(Drill Rod) ผ่าน เครื่องถอด(EXTRACON TOOL) ระมัดระวังว่าใส่ถูกด้าน แล้วสอดแท่งเจาะนำลงในรูบนฐานสำหรับเจาะนำ(Scraper Plate) ดังรูป ใช้ค้อนทุบลงบนแท่งเจาะนำอย่างระมัดระวัง ให้แท่งเจาะนำฝังลงไปในพื้นดินจนลึกกว่าระดับที่ต้องการไม่น้อยกว่า 5 ซม. ทำเครื่องหมายรอบแท่นสำหรับเจาะนำ(Scraper Plate)บนพื้นที่ทดสอบ(เพื่อให้สามารถสอดแท่งทดสอบของเครื่องมือฯลงในรูที่เจาะไว้) ถอนแท่งเจาะนำขึ้นด้วยการหมุนเครื่องถอด(EXTRACON TOOL)ไปมา ห้ามถอดแท่งเจาะนำขึ้นด้วยการโยก ตรวจสอบว่าไม่มีสิ่งสกปรกลงไปในรูที่เจาะไว้ ยกฐานสำหรับเจาะนำ(Scraper Plate)ออกมา วางเครื่องมือฯลงในพื้นที่ที่ได้ทำเครื่องหมายไว้ กดแท่งทดสอบของเครื่องมือลงในรูที่ได้เจาะไว้จนถึงระดับความลึกที่ต้องการ ดันให้แท่งทดสอบสัมผัสกับผนังของรูที่เจาะไว้

 

พื้นผิวลาดยาง(ASPHALT SURFACE)

              ควรเลือกทดสอบบนพื้นผิวที่ราบเรียบ ถ้าไม่สามารถเลือกได้ควรเติมช่องว่างหลุมบ่อต่างๆ ด้วยทรายหรือซีเมนต์ ถ้าเป็นไปได้ควรวางเครื่องมือบนพื้นผิวลาดยางโดยตรง ไม่ควรวางบนวัสดุที่นำมาอุดรูหรือช่องว่าง ตรวจสอบว่าเครื่องมือไม่วางอยู่บนก้อนวัสดุขนาดใหญ่ กดแท่งทดสอบของเครื่องมือลงมาอยู่ในตำแหน่งของการทดสอบแบบสะท้อนกลับ (Back scatter position) คือ ตำแหน่งขีดแรกของการกด ตรวจสอบให้แน่ใจว่าตำแหน่งของแท่งทดสอบอยู่ถูกต้อง

 

การสอบเทียบ เครื่องมือทดสอบหาความชื้นและความแน่นด้วยวิธีนิวเคลียร์

              ควรจะมีการสอบเทียบเครื่องมือ (THE STABNDARD COUNT) อย่างน้อย สัปดาห์ละ 1 ครั้ง หรือก่อนออกปฏิบัติงานในทุกวัน เนื่องจากปริมาณรังสีของเครื่องฯจะลดลงตลอดเวลา ขั้นตอนการทำ Standard Count เริ่มจากวางแท่นอ้างอิง(Reference Block) บนพื้นที่แห้ง ราบเรียบ เช่น ผิวทางลาดยาง พื้นคอนกรีต หรือ พื้นดินที่บดอัดแน่น ที่มีความหนาแน่นไม่ต่ำกว่า 1600 ก.ก./ลบ.ม. ตำแหน่งที่วางแท่นอ้างอิงต้องห่างจากสิ่งก่อสร้าง รถยนต์ หรือ สิ่งอื่นๆ ไม่น้อยกว่า 2 เมตร ห่างจากแหล่งกำเนิดรังสีอื่นๆ ไม่น้อยกว่า 8 เมตร

ตรวจสอบว่าด้านบนของแท่นอ้างอิงและพื้นของเครื่องมือฯสะอาดปราศจากสิ่งใดๆ (ควรหมั่นทำความสะอาด) วางเครื่องมือฯบนแท่นอ้างอิงให้ตัวแท่งกดของเครื่องมืออยู่คนละด้านกับแผ่นเหล็กของแท่นอ้างอิง กด STANDARD หลังจากนั้นกด YES

กด YES เริ่มทำ Standard Count เครื่องมือจะดำเนินการโดยใช้เวลาประมาณ 5 นาที หลังจากเสร็จสิ้นจะมีเสียง “beep” จดบันทึกค่า Ds และ Ms แล้วกด YES ถ้าไม่มีข้อผิดพลาดใดๆ เครื่องมือพร้อมสำหรับทำการทดสอบต่อไปแล้ว

หลักการใช้งาน เครื่องมือทดสอบหาความชื้นและความแน่นด้วยวิธีนิวเคลียร์

หลักการใช้งาน เครื่องมือทดสอบหาความชื้นและความแน่นด้วยวิธีนิวเคลียร์

nuclear1

nuclear2

nuclear3