หาวัตถุโลหะที่ฝังอยู่ใต้ดินโดยใช้วิธีสำรวจแม่เหล็กไฟฟ้าประเภทโดเมนความถี่ต่ำ (Low-frequency electromagnetic method)
อีกหนึ่งเทคนิคด้านธรณีฟิสิกส์ที่ใช้สำรวจใต้ผิวดิน คือ วิธีสำรวจแม่เหล็กไฟฟ้าประเภทโดเมนความถี่ต่ำ หรือ Low-frequency electromagnetic method ที่ใช้หลักการวัดสมบัติในการเป็นตัวนำ (conductive) ของหิน,แร่ หรือวัตถุ ต่อคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ส่งออกจากเครื่องส่ง (transmitter) หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดตามธรรมชาติ เหมาะสำหรับใช้งานด้าน โบราณคดี ธรณีวิทยา งานสิ่งแวดล้อมและวัสดุโลหะใต้ผิวดิน แต่ก่อนจะไปดูว่าผลลัพธ์ในการสำรวจเป็นยังไง ผู้เขียนขออธิบายเกี่ยวกับหลักการและองค์ประกอบต่างๆ คร่าวดังนี้
หลักการทำงาน
การวัดด้วยวิธีสำรวจแม่เหล็กไฟฟ้าประเภทโดเมนความถี่ต่ำจะได้ค่า quadrature Apparent conductivity) และ magnetic phase variance (In-phase) และความละเอียดของข้อมูลขึ้นกับความความไวต่อสนามแม่เหล็ก (magnetic susceptibility) ของวัสดุนั้น ซึ่งก็คือยิ่งวัตถุมีความเป็นโลหะหรือแร่โลหะ ผลการสำรวจก็จะละเอียดและแม่นยำมากขึ้น
องค์ประกอบของเครื่องมือ
ความลึกเดียวและหลายความลึก
Coil geometry
เครื่องมือจะวัดได้ 2 ความลึก ขึ้นกับว่าเราจะเลือกใช้แบบไหน ตัวอย่าง เครื่องมือโมเดล CMD Explorer 6L : 6.30/3.15 เมตร หมายความว่า ถ้าเลือกปรับแบบ HCP ความลึกสูงสุดสำรวจได้ที่ 0-3.15 เมตร ส่วนปรับแบบ VCP HCP ความลึกสูงสุดสำรวจได้ที่ 0-6.30 เมตร
เครื่องมือที่ใช้ในการสำรวจ
ตัวอย่างการสำรวจ
สำรวจหาท่อเหล็ก พบท่อที่ความตั้งแต่ลึก 0.5-1.8 เมตร
สำรวจหาท่อเหล็ก พบท่อที่ความตั้งแต่ลึก 1 เมตร
งานวิจัย Geophysics for Military Construction Projects ปี 2010 ได้ทำการทดลองประสิทธิภาพเครื่องมือสำรวจแม่เหล็กไฟฟ้าประเภทโดเมนความถี่ต่ำ โมเดล CMD-4 (Single-dept) โดยฝังวัสดุชนิดต่างๆแตกต่างกัน
ผลการสำรวจแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของวิธีการสำรวจแม่เหล็กไฟฟ้าประเภทโดเมนความถี่ต่ำ ที่แสดงผลในรูปแผนที่เส้นชันของค่า In-phase ซึ่งสำรวจเห็น ถังน้ำมันและท่อเหล็กค่อนข้างชัดเจน แต่ท่อทองแดงและท่อ PVC สำรวจไม่พบ
ข้อดีของวิธีสำรวจแม่เหล็กไฟฟ้าประเภทโดเมนความถี่ต่ำ
1.การสำรวจที่ค่อนข้างง่ายและไม่กระทบสิ่งก่อสร้างเดิม
2.ประมวลผลและการแสดงผลสำรวจเป็นภาพเข้าใจง่าย (แสดงให้อยู่ในรูปแผนที่)
3.ไม่ต้องใช้คนจำนวนเยอะในการสำรวจ
4.เครื่องมือเน้นเจาะจงกับงานประเภทโลหะและแร่
ข้อเสียของวิธีการสำรวจแม่เหล็กไฟฟ้าประเภทโดเมนความถี่ต่ำ
1.หากเทียบกับการสำรวจวิธีการอื่น ความแม่นย่ำค่อนข้างน้อยกว่า
2.ไม่เหมาะกับบริเวณที่มีโลหะอยู่ใกล้เคียง
อ้างอิง
1.http://www.gfinstruments.cz/index.php?menu=gi&smenu=iem&cont=cmd_&ear=dl
2.Bjella, K. L., Astley, B. N., & North, R. E. (2010). Geophysics for Military Construction Projects. ENGINEER RESEARCH AND DEVELOPMENT CENTER VICKSBURG MS.
3.Bonsall, J., Fry, R., Gaffney, C., Armit, I., Beck, A., & Gaffney, V. (2013). Assessment of the CMD mini‐explorer, a new low‐frequency multi‐coil electromagnetic device, for archaeological investigations. Archaeological Prospection, 20(3), 219-231.