สิ่งที่เราต้องการที่จะทราบในงานสำรวจ ก็คือ ตำแหน่งและความลึกของวัสดุว่าอยู่ตรงไหน เพื่อที่เราจะก่อสร้าง
หรือวางแผนขุดเจาะไม่ให้โดนตำแหน่งที่มีวัสดุอื่นๆ เช่น ท่อหรือสายเคเบิล ที่ฝังอยู่ใต้ดิน โดยเครื่องมือจัดอยู่ในวิธีการสำรวจแบบ Near-surfaces Geophysics แบบไม่รบกวนโครงสร้างเดิม เครื่องมือหรือเทคโนโลยี GPR สำหรับงานท่อ (Utility scan) ความถี่เสาสัญญาอยู่ที่ 350-450 Hz ความลึกในการสำรวจอยู่ระดับประมาณ 0-10 เมตร
วันนี้บริษัท ASIA TESTING EQUIPMENT จะพาไปดูการใช้งานจริง การสำรวจจริง ว่าเขาใช้กันยังไง ผลการสำรวจเป็นแบบไหน
1.เริ่มด้วยการกำหนดแนวการสำรวจ เพื่อหาแนวท่อหรือหาว่ามีวัสดุฝังอยู่ใต้ดินไหม
2.สำรวจหาตำแหน่งพร้อมทำสัญลักษณ์เพื่อแสดงตำแหน่งท่อ (ข้อดีของการทำงานคือ ใช้งานง่าย สามารถสำรวจและหาตำแหน่งได้ทันที)
3.ผลการสำรวจท่อจะถูกแสดงในลักษณะรูปไฮเพอร์โบลา ที่บ่งบอกถึงตำแหน่งวัสดุและความลึกจากผิวดิน
4.การใช้งานโปรแกรม (Mala vision) ยังตอบโจทย์ในเรื่อง การแสดงผลการสำแนวท่อบน Google map, Google Street view , แนวท่อในรูปแบบ 3D และ 2D Hyperbola
5.ผลการสำรวจสามารถ Correlation ภาพ 2D หลายๆภาพให้เป็น ภาพ 3D ได้ ซึ่งสามารถแสดงผลได้ทั้งแบบ 3D cubic และ 3D Slice
การสำรวจที่ง่ายและรวดเร็วถือเป็นข้อดีของ GPR ทั้งยังการประยุกต์การสำรวจ การแสดงผลข้อมูลที่หลากหลายทำให้แปลผลได้ง่ายขึ้น
หมายเหตุ : โปรแกรม Mala vision เป็นระบบปฎิบัติการในระบบ cloud ที่สามารถใช้งานบนบราวเซอร์ไหนก็ได้
ตัวอย่าง สำรวจหาท่อบริเวณริมทางหลวงชนบท จ. นครปฐม พบ ความลึกของท่ออยู่ประมาณ 0.16 เมตร วางขนานตามไหล่ทาง ฝังห่างเส้นจราจรขอบถนน 0.75 เมตร โดยการวางตำแหน่งวัสดุอื่นๆควรหลีกเลี่ยงบริเวณนี้
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่